CPF & VECO

ใช้ เทคโนโลยี CAD/CAM ( Scan+Reverse Engineering ) ในงาน Design และ ซ่อมบำรุงชิ้นส่วนTurbine : CP Group เครือเจริญโภคภัณฑ์ ผลิตสินค้าและสารธารณูประโภคอันดับ 1 ของประเทศ ซึ่งคนไทยเราคุ้นกันดีเป็นปัจจัย 4 ใช้กันทุกวัน อาทิ CP,CPF,7-11,true, makro,Lotus ซึ่งบางคนอาจยังไม่รู้ว่า เครือ CP นั้นผลิตไฟฟ้าโดยลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าขึ้นใช้เองในเครือ โดยคุณคุณ นิธิศ จิรวีรภัทร (ผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรม ) เล่าว่าเนื่องจากโรงงานเครือ CP มีการใช้พลังงานไฟฟ้าจำนวนมากจึงจำเป็นต้องมีแหล่งสร้างพลังงานไฟฟ้าใช้ในเครือหมุนเวียนขึ้นมาเองนั่นคือโรงไฟฟ้า CP Co-Generation 
ระบบผลิตพลังงานร่วม หรือ โคเจนเนอเรชั่น (Co-Generation) คือ การใช้ความร้อนจากแรงดันแก๊สเพื่อกำเหนิดพลังงานไฟฟ้าพร้อมกับการนำไอน้ำหรือสตรีมไปใช้ในส่วนต่างๆของโรงงาน
เครือซีพีได้เริ่มสร้างโรงไฟฟ้าแห่งแรกที่โรงงานแปรรูปเนื้อไก่ เนื่องจากช่วงนั้นมีการวางท่อแก๊สธรรมชาติผ่านด้านหลังโรงงาน ทำให้สามารถต่อท่อเข้ามาใช้ในโรงงานได้สะดวก โรงงานแห่งนี้จึงมีเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าในราคาถูกและยังเหลือพลังงานความร้อนมาใช้ในกระบวนการผลิตอาหารอีกต่อด้วย
กระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าของโรงไฟฟ้า โคเจนเนอเรชั่น (Co-Generation) จะมีการทำงานคล้ายๆ กับรถยนต์เอ็นจีวี ที่จะมีแก๊สเอ็นจิ้นไปทำให้เครื่องยนต์หมุนและล้อรถวิ่ง ในระหว่างที่มีการปั่นให้รถวิ่งก่อให้เกิดความร้อนในเครื่องยนต์ เพราะฉะนั้นโรงงานจึงได้ประโยชน์จากความร้อนของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 2 ส่วน ทั้งได้กำเนิดไฟฟ้าเพื่อใช้งานทั่วไปและได้ไอน้ำร้อนจำนวนมหาศาลที่สามารถนำไปใช้ในงานแปรรูปเนื้อไก่ และการนำไอน้ำหรือสตรีมไปใช้ในส่วนต่างๆของโรงงานอีกด้วย


ซึ่งตั้งอยูที่ Plant 1.CP มีนบุรี 2. CPหนองจอก 3.CP บางน้ำเปรียว เช่นเดียวกับ บริษัท Venture Engineering จำกัด เป็นบริษัทฯ กลุ่มลูกค้าในเครือ มุ่งเน้นการจัดทำชิ้นส่วนเครื่องจักร, Spare part เน้น กลุ่ม Turbine , Impeller ใบพัด ทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ ด้วยคุณภาพที่ทัดเทียม ราคาที่ต่ำกว่า และสามารถตอบสนองได้ทันความต้องการของลูกค้า ทำให้ Venture Engineering หรือVECO มีลูกค้าที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรม และผู้ประกอบการธุรกิจขนาดใหญ่มากมาย ตลอดจนหน่วยงานของภาครัฐ ที่ให้ความไว้วางใจในคุณภาพของงานและบริการ โดยโรงงานตั้งอยู่ที่ จ.ปทุมธานี

ซึ่งคุณ นิธิศ ของ CPF และ คุณ ไวพจน์ ของ Venture Engineering เล่าถึงปัญหาในด้านวิศวกรรม ซึ่งในระบบ ทาง Mechanical ของSystem ภายในส่งกำลังจาก Turbine หากใช้เป็นเวลานาน บางส่วนสึกหรอ จำเป็นต้องซ่อมบำรุงแบบ Preventive Maintenance ปัญหาในการซ่อมบำรุง ส่วนใหญ่ใช้งบประมาณสูงมากอาทิค่าวัสดุ , Process การผลิต จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่วิศวกรต้อง Design และผลิตนำกลับมาใช้เอง ส่วนใหญ่งานต้นแบบไม่มี Drawing และงานมีลักษณะ Free Form ที่ซับซ้อนยากที่จะหาเครื่องมือวัดธรรมดามาวัดเพื่อ Design ได้ ซึ่งบางครั้งอาจ Designและผลิตที่ ผิดพลาด ทำให้ส่งผลเสียหายและเป็นอันตรายใน System


Solution : ใช้ เครื่อง 3D Scanner รุ่น Precision ที่มีใช้เทคโนโลยี Blue Light ความละเอียดในการ Scan ระดับ 20 ไมครอน Scan ลอกผิวหน้าของ Impeller ( Parting Face ) แล้ว Reverse Engineering มากำหนดต้นแบบของใบ Impeller ใหม่ ซึ่งการ Design และผลิตอาจใช้วิธีการ Design ใบใหม่โดยใช้ เครื่องเลเซอร์ Cutting แล้วเชื่อมประกอบใบกับ แกนหมุนหรือ ใช้ CNC 5x Machine ทั้งโครงสร้างขึ้นมา โดยโปรแกรม CAD/CAM โดยวิศวกร นำไปสู่ขั้นตอนในการผลิต Impeller ต่อไปซึ่งข้อมูล CAD จากแผนก Design ไร้ข้อผิดพลาด ( ทีม Quick Design )
นำไปสู่ขั้นตอนในการผลิต,ซ่อมสร้างชิ้นส่วน Impeller ในระบบ Pump อย่างมีคุณภาพซึ่งมีความแม่นยำสูงลดความผิดพลาด ลดมลภาวะ และไม่เสียเวลา ลดต้นทุนมหาศาล

นำไปสู่ขั้นตอนในการผลิต,ซ่อมสร้างชิ้นส่วน Turbine ในระบบ Co-Generation อย่างมีคุณภาพซึ่งมีความแม่นยำสูงลดความผิดพลาด Safety และไม่เสียเวลา ลดต้นทุนมหาศาล เป็นที่ประทับใจ ในเครือการผลิตสินค้า ของ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด และ บริษัท Venture Engineering จำกัด ซึ่งปัจจุบันเป็นลูกค้า 3D Scaner และ ระบบ CAD/CAM ของบริษัท ควิกดีไซน์